... ระบบบัญชีเอ็กซ์เพรส | ระบบบัญชี Expess | โปรแกรมบัญชี Express | โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป | โปรแกรม Express Online | ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express | ใบกำกับภาษีสำเร็จรูป 5 ชั้น...
เคล็ดลับการใช้งานโปรแกรม
1   ปิดหน้าจอเตือน(Security Warning) เวลาเปิดโปรแกรม Express
2   การกระทบยอด ภงด50, ภ.พ.30
3   การปฏิบัติในกรณีรับเช็คชำระหนี้แล้วเช็คมีปัญหา
4   ตัวอย่างวิธีการนำ Express ไปใช้งานกับธุรกิจผลิต
5   ซ่อนระบบบัญชี Express จากบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
6   การบันทึกรับคืนหรือส่งคืนสินค้าที่ซื้อ/ขายในปีก่อน (ประมวลผลสิ้นปีไปแล้ว)
7   ใช้โปรแกรมมาหลายปี ไม่เคยปิดบัญชี ต้องทำอย่างไร
8   ทำไมพิมพ์แบบฟอร์ม เส้นตารางกลายเป็นตัวเลขไทย
9   Perpetual/Periodic , FIFO/Average เลือกใช้แบบไหนดี
10   ปีใหม่ทีไร วันที่ไม่อยู่ในงวดทุกที ?
11   ปรับขนาดตัวอักษรของ Express ให้อ่านง่ายขึ้น
12   วิธีการปิดประมวลผลสิ้นปีในโปรแกรม Express
13   วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ของโปรแกรม Express
14   วิธีการแปลงข้อมูลจาก Excel มาใช้ใน Express
15   การใช้งาน Express กับงานบัญชีในโรงพยาบาล
16   วิธีแก้ไขข้อผิดพลาดจากการยื่นภาษีผ่าน Internet
17   วิธียื่นภาษีผ่าน Internet
18   ทำความเข้าใจกับวิธีกำหนดสิทธิการใช้งานในโปรแกรม Express
19   ป้อนวันที่รับของแยกตามรายการสินค้าในใบสั่งซื้อ (ใบสั่งขายก็ทำได้เช่นกัน)
20   ทำความเข้าใจวิธีลงบัญชีของ Express
21   พิมพ์งานจาก Express ออกทางเครื่องพิมพ์แบบต่าง ๆ
22   วิธีคำนวณต้นทุนในโปรแกรม Express
23   การรวมรายการของรหัสลูกค้า 2 รหัส ให้เป็นรหัสเดียว
24   จัดเก็บข้อมูลให้ปลอดภัย-แยกข้อมูล
25   การนำรายงานจาก Express ไปใช้ใน Excel
26   ค้นหาเอกสารเพื่อตรวจทานได้ง่ายๆ
27   ปกป้องข้อมูลในโปรแกรม Express ให้ปลอดภัย
  • ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express
  • ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express
  • ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express
  • ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express
  • ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express
 
Perpetual/Periodic , FIFO/Average เลือกใช้แบบไหนดี
 

วิธีการบันทึกบัญชีสินค้า
การบันทึกบัญชีสินค้า  ตามหลักการบัญชีแบ่งออกเป็น 2  วิธีด้วยกัน  ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาทำความเข้าใจการทำงานทั้ง  2 วีธีนี้ ว่าแตกต่างกันอย่างไร  และ  แต่ละวิธีเหมาะกับกิจการลักษณะไหนบ้าง  เพื่อให้ทุกท่านใช้เป็นแนวทางในการเลือกวิธีการทำงานให้เหมาะสมกับลักษณะของ กิจการ

วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าแบบสิ้นงวด ( Periodic  Inventory  Method ) เหมาะสำหรับธุรกิจขายปลีก มีสินค้าจำนวนมากหลากหลายประเภทและสินค้าส่วนใหญ่มีราคาไม่สูง  ราคาต่อหน่วยต่ำ  ปริมาณในการขายในแต่ละวันมีจำนวนมากและมีการขายบ่อยครั้ง เช่น  ขายยา  เครื่องเขียน   เป็นต้น   วิธีนี้กิจการจะทราบยอดสินค้าคงเหลือ ณ วันใดวันหนึ่ง หรือ ณ วันสิ้นงวดบัญชีได้โดยการตรวจนับตัวสินค้า  และทำการตีราคาสินค้า  แต่ไม่อาจทราบยอดคงเหลือได้จากสมุดบัญชี  เพราะการบันทึกบัญชีตามวิธีนี้  เวลาซื้อจะไม่มีการบันทึกบัญชีสินค้า แต่จะบันทึกเป็นบัญชีซื้อแทน  วิธีนี้จึงเหมาะกับสินค้าที่ไม่สะดวกที่จะคำนวณต้นทุนขาย   ทุกครั้งที่มีการขายสินค้าจึงไม่มีการบันทึกต้นทุนขาย  และลดยอดสินค้าคงเหลือเมื่อมีการขายสินค้า  ต้องรอจนถึงวันสิ้นงวดบัญชีจึงจะทำการตรวจนับสินค้า  และคำนวณมูลค่าคงเหลือในวันสิ้นงวดบัญชี  ผลต่างระหว่างสินค้าที่เหลืออยู่กับสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย  ก็จะเป็นต้นทุนในการขายประจำงวดนั้น

วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง ( Perpetual  Inventory  Method ) เหมาะสำหรับธุรกิจขายส่ง หรือธุรกิจที่ขายสินค้าประเภทปริมาณขายไม่มากนัก แต่ราคาต่อหน่วยสูง  คำนวณต้นทุนต่อหน่วยได้ง่าย เช่น  ขายเครื่องใช้ไฟฟ้า   รถยนต์  บ้าน  เป็นต้น  ตามวิธีนี้จะสามารถทราบยอดสินค้าคงเหลือได้จากยอดคงเหลือในบัญชีสินค้า  ณ  วันใดวันนึ่ง หรือยอดคงเหลือ ณ ปัจจุบันได้ทันที   เนื่องจากกิจการจะบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงเหลือ  ไว้ในบัญชีสินค้า  และบันทึกราคาทุนของสินค้าที่ขายไว้ในบัญชีต้นทุนขาย  โดยที่กิจการจะมีการจัดทำ  “บัตรสินค้า (Stock  Card)”   เพื่อใช้ในการบันทึกรายการซื้อ  ขาย  ส่งคืนและรับคืนสินค้า  ซึ่งจะทำให้ทราบต้นทุนสินค้าที่ขาย  และมูลค่าคงเหลือของสินค้า  โดยไม่ต้องมีการตรวจนับสินค้า   บริษัทที่มีขนาดใหญ่มักใช้วิธีนี้ในการบันทึกบัญชีสินค้า

ในปัจจุบัน ธุรกิจส่วนมากได้นำระบบโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีเข้ามาใช้ การใช้โปรแกรมดังกล่าว ทำให้กิจการสามารถตรวจเช็คยอดสินค้าคงเหลือได้อย่างตลอดเวลา  (บันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง)   ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงาน   ถึงแม้ระบบสินค้าแบบต่อเนื่องถูกนำมาใช้  แต่การบันทึกบัญชีสินค้าเมื่อสิ้นงวดก็ยังคงมีประโยชน์ในบางสถานการณ์  เช่น  กรณีที่ข้อมูลที่ถูกบันทึกเกี่ยวกับสินค้าในระบบผิดพลาด  หรือไม่น่าเชื่อถือ ก็อาจนำวิธีการบันทึกบัญชีสินค้าแบบสิ้นงวดมาใช้ก็ได้

ความแตกต่างในการบันทึกบัญชีระหว่าง  2 วิธี
Image


วิธีการคำนวณต้นทุนขายสินค้า      การคำนวณต้นทุนขายสินค้า ในระบบของ Express แบ่งเป็น 2 วิธีด้วยกัน  คือ  วิธีเข้าก่อนออกก่อน (First-in, First-out Method หรือ FIFO Method) และ  วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก  (Weighted-average Method)   ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีความเหมาะสมกับประเภทของสินค้าที่ต่างกัน  โดยแบ่งพิจารณาได้ดังนี้

วิธีเข้าก่อนออกก่อน (First-in, First-out Method หรือ FIFO Method)  วิธีนี้สินค้าที่ซื้อหรือผลิตขึ้นมาก่อน จะถูกขายออกไปก่อน    ดังนั้นยอดสินค้าคงเหลือจะเป็นราคาที่ซื้อเข้ามาล๊อตล่าสุด   ซึ่งการคำนวณต้นทุนวิธีนี้จะเหมาะกับสินค้าที่เน่าเสียง่าย  หรือ  มีเงื่อนไขเรื่องวันหมดอายุเข้ามาเกี่ยวข้อง  แสดงตัวอย่างการตัดต้นทุนได้ดังนี้
       ตัวอย่างรายการเคลื่อนไหวภายในเดือน:-

Image

Image

จาก ตัวอย่าง  จะเห็นได้ว่า การขายสินค้าวันที่  19  มค.  จะตัดต้นทุนจากสินค้าที่เป็นยอดยกมาของ   1 มค. ก่อน ซึ่งเป็นล็อตที่รับเข้ามาก่อน    ดังนั้นมูลค่าของสินค้าคงเหลือ จะประกอบด้วยราคาจาก  2 ล๊อตด้วยกัน

วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก  (Weighted-average)  วิธีนี้จะนำมูลค่าสินค้ามาเฉลี่ยหาราคาต้นทุนให้ใหม่ทุกครั้งที่มีการซื้อ เข้ามา    การคำนวณต้นทุนวิธีนี้จะเหมาะกับสินค้าที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง  หรือ  เป็นสินค้าที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันและราคาใกล้เคียงกัน  ซึ่งจากตัวอย่างการเดินรายการข้างต้น  สามารถแสดงการตัดต้นทุนได้ดังนี้

Image

จากตัวอย่าง  จะเห็นได้ว่า  เมื่อมีการซื้อสินค้าเข้าใหม่  จะนำมูลค่าสินค้าที่เหลือก่อนหน้า กับ มูลค่าของการซื้อมาบวกกัน แล้ว หารด้วยจำนวนรวม  ก็จะได้เป็นราคาต้นทุนใหม่ที่จะใช้เป็นต้นทุนสำหรับการขาย  และราคาทุนเฉลี่ยนี้ก็จะถูกนำมาเป็นมูลค่าของสินค้าคงเหลือด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก  :-
-    http://coursewares.mju.ac.th/ac102/lessonQa/less%203/less%203.htm
-    http://yellow170151.spaces.live.com/blog/cns!1E96EF252D733E15!649.entry?_c=BlogPart


ตัวแทนจำหน่ายระบบบัญชีเอ็กซ์เพรส |
ระบบบัญชี Expess | โปรแกรมบัญชี Express | โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป | โปรแกรม Express Online | ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express | ฟอร์มใบกำกับภาษีสำเร็จรูป

CopyRight 2012© www.cdginnovation.com
Contact Us : online@cdginnovation.com
Tel. 08-3444-7676, 08-7980-6789

สั่งซื้อโปรแกรมโทร 0834447676