... ระบบบัญชีเอ็กซ์เพรส | ระบบบัญชี Expess | โปรแกรมบัญชี Express | โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป | โปรแกรม Express Online | ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express | ใบกำกับภาษีสำเร็จรูป 5 ชั้น...
เคล็ดลับการใช้งานโปรแกรม
1   ปิดหน้าจอเตือน(Security Warning) เวลาเปิดโปรแกรม Express
2   การกระทบยอด ภงด50, ภ.พ.30
3   การปฏิบัติในกรณีรับเช็คชำระหนี้แล้วเช็คมีปัญหา
4   ตัวอย่างวิธีการนำ Express ไปใช้งานกับธุรกิจผลิต
5   ซ่อนระบบบัญชี Express จากบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
6   การบันทึกรับคืนหรือส่งคืนสินค้าที่ซื้อ/ขายในปีก่อน (ประมวลผลสิ้นปีไปแล้ว)
7   ใช้โปรแกรมมาหลายปี ไม่เคยปิดบัญชี ต้องทำอย่างไร
8   ทำไมพิมพ์แบบฟอร์ม เส้นตารางกลายเป็นตัวเลขไทย
9   Perpetual/Periodic , FIFO/Average เลือกใช้แบบไหนดี
10   ปีใหม่ทีไร วันที่ไม่อยู่ในงวดทุกที ?
11   ปรับขนาดตัวอักษรของ Express ให้อ่านง่ายขึ้น
12   วิธีการปิดประมวลผลสิ้นปีในโปรแกรม Express
13   วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ของโปรแกรม Express
14   วิธีการแปลงข้อมูลจาก Excel มาใช้ใน Express
15   การใช้งาน Express กับงานบัญชีในโรงพยาบาล
16   วิธีแก้ไขข้อผิดพลาดจากการยื่นภาษีผ่าน Internet
17   วิธียื่นภาษีผ่าน Internet
18   ทำความเข้าใจกับวิธีกำหนดสิทธิการใช้งานในโปรแกรม Express
19   ป้อนวันที่รับของแยกตามรายการสินค้าในใบสั่งซื้อ (ใบสั่งขายก็ทำได้เช่นกัน)
20   ทำความเข้าใจวิธีลงบัญชีของ Express
21   พิมพ์งานจาก Express ออกทางเครื่องพิมพ์แบบต่าง ๆ
22   วิธีคำนวณต้นทุนในโปรแกรม Express
23   การรวมรายการของรหัสลูกค้า 2 รหัส ให้เป็นรหัสเดียว
24   จัดเก็บข้อมูลให้ปลอดภัย-แยกข้อมูล
25   การนำรายงานจาก Express ไปใช้ใน Excel
26   ค้นหาเอกสารเพื่อตรวจทานได้ง่ายๆ
27   ปกป้องข้อมูลในโปรแกรม Express ให้ปลอดภัย
  • ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express
  • ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express
  • ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express
  • ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express
  • ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express
 
การใช้งาน Express กับงานบัญชีในโรงพยาบาล
 

การกำหนดค่าเริ่มระบบ
1.    กำหนดกลุ่มบัญชีสินค้า
เมนูนี้มีไว้สำหรับกำหนดกลุ่มบัญชีเพื่อที่จะนำไปลงบัญชีในสมุดรายวันต่าง ๆ โดยจะแยกตามประเภทของวัสดุต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น วัสดุโฆษณาและเผยแพร่, วัสดุสำนักงาน, วัสดุงานบ้านงานครัว เป็นต้น เมนูที่ใช้คือเมนูเริ่มระบบ-> 1.กำหนดค่าเริ่มต้นต่าง ๆ -> 3.ระบบสินค้าคงเหลือ -> 2.กำหนดกลุ่มบัญชีสินค้า


Image
  รูปภาพ 1 หน้าจอกลุ่มบัญชีสินค้าที่กำหนดไว้แล้ว

     บัญชีสินค้า คือเลขที่บัญชีที่จะใช้ลงบัญชีเมื่อมีการซื้อวัสดุประเภทนั้น ๆ เข้าสต๊อค (หมวดสินทรัพย์) ส่วนบัญชีต้นทุนขาย คือเลขที่บัญชีที่จะใช้ลงบัญชีเมื่อมีการเบิกวัสดุประเภทนั้น ๆ ออกจากสต๊อค (หมวดค่าใช้จ่าย)
2.    กำหนดคลังสินค้า
เป็นเมนูสำหรับกำหนดคลัง สินค้าที่ใช้ในการเก็บสต๊อควัสดุต่าง ๆ เวลามีการรับเข้า หรือจ่ายวัสดุออก สามารถกำหนดคลังสินค้าในแต่ละเอกสารได้ด้วย ว่าจะรับเข้า หรือจ่ายออกจากคลังใด และสามารถดูรายงานสินค้าแยกตามคลังได้ด้วยเช่นกัน เมนูที่ใช้คือ เมนูเริ่มระบบ –> 2.กำหนดตารางข้อมูล –> 21 คลังสินค้า

Image 
รูปภาพ 2 กำหนดคลังสินค้า

3.    กำหนดหมวดสินค้า
เป็น เมนูสำหรับกำหนดหมวดสินค้าหรือวัสดุต่าง ๆ เช่น หมวดวัสดุสำนักงาน, หมวดเวชภัณฑ์, หมวดงานบ้านงานครัว เป็นต้น ซึ่งเวลาดูรายงาน สามารถดูรายงานสินค้าแยกตามหมวดได้ด้วย เมนูที่ใช้คือ เมนูเริ่มระบบ –> 2.กำหนดตารางข้อมูล –> 22 หมวดสินค้า

Image 
รูปภาพ 3  กำหนดหมวดสินค้า

4.    กำหนดรอบบัญชี
     เป็นเมนูสำหรับกำหนดรอบบัญชีของโรงพยาบาล ซึ่งวันที่เริ่มรอบบัญชีจะเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน ของทุก ๆ ปี เมนูที่ใช้คือ เมนูเริ่มระบบ –> 3. กำหนดรอบบัญชี

5.    กำหนดเลขที่เอกสาร
     เป็นเมนูสำหรับกำหนดเมนูย่อยต่าง ๆ ที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น ใบรับสินค้าสามารถกำหนดเมนูย่อย ๆ ได้อีก โดยแยกเป็นแต่ละประเภทของวัสดุ เพื่อให้สะดวกในการจัดเก็บเอกสาร เช่น วัสดุสำนักงานแบบพิมพ์, วัสดุงานบ้านงานครัว, วัสดุโฆษณาและเผยแพร่ เป็นต้น เมนูที่ใช้คือ เมนูเริ่มระบบ –> 4. กำหนดเลขที่เอกสาร

Image 
รูปภาพ 4 เลขที่เอกสารที่ได้กำหนดไว้

6.    กำหนดแผนก
     เป็นเมนูสำหรับกำหนดรหัสของแผนกต่าง ๆ ในโรงพยาบาล เวลาออกเอกสารต่าง ๆ เช่น ใบจ่ายวัสดุภายใน สามารถกำหนดแผนกที่ต้องการได้ และสามารถออกรายงานสินค้าแยกตามแผนกได้ด้วย เพื่อที่จะได้ทราบว่าแผนกใด เบิกของอะไรไปบ้าง เมนูที่ใช้คือ เมนูเริ่มระบบ –> 7. กำหนดแผนก

Image 
รูปภาพ 5 แผนกที่ได้กำหนดไว้แล้ว

 

การเตรียมฐานข้อมูล
1.    การกำหนดรายละเอียดวัสดุต่าง ๆ
เป็น เมนูสำหรับกำหนดรายละเอียดของสินค้าหรือวัสดุต่าง ๆ ที่มีการรับเข้า หรือจ่ายออก ประกอบด้วยรหัสของวัสดุ , ชื่อ, หน่วยนับ ฯลฯ ซึ่งรหัสนั้นสามารถกำหนดได้ไม่เกิน 20 ตัวอักษร เมนูที่ใช้คือ เมนูสินค้า –> 2. รายละเอียดสินค้า

Image 
รูปภาพ 6 รายละเอียดวัสดุที่ได้กำหนดไว้

2.    การกำหนดรายละเอียดรายได้อื่น ๆ
เป็น เมนูสำหรับกำหนดรายละเอียดรายได้ของโรงพยาบาล เช่น ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน เป็นต้น เมนูที่ใช้คือ เมนูขาย –> ข้อ7. รายละเอียดรายได้อื่น ๆ

Image 
รูปภาพ 7  รายละเอียดรายได้อื่น ๆ ที่ได้กำหนดไว้

     บัญชีรายได้ คือเลขที่บัญชีที่ใช้ในการลงบัญชี เลขที่บัญชีดังกล่าวจะถูกดึงมาจากผังบัญชีที่ได้กำหนดไว้ 

3.    การกำหนดรายละเอียดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
เป็น เมนูสำหรับกำหนดรายละเอียดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล หรือรายละเอียดของวัสดุ ที่ไม่ต้องการเก็บ สต๊อค ถือเป็นค่าใช้จ่ายไปเลย ในตอนที่รับวัสดุนั้น ๆ เข้ามา เช่น ค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วย รหัส, ชื่อ, หมวด, หน่วยนับ และเลขที่บัญชีค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถดึงมาจากผังบัญชี เมนูที่ใช้คือ เมนูซื้อ –> 7. รายละเอียดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

Image 
รูปภาพ 8 รายละเอียดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ได้กำหนดไว้

     บัญชีค่าใช้จ่าย คือเลขที่บัญชีที่ใช้ในการลงบัญชี เลขที่บัญชีดังกล่าวจะถูกดึงมาจากผังบัญชีที่ได้กำหนดไว้ 

4.    การกำหนดรายละเอียดผู้จำหน่าย
เป็น เมนูสำหรับกำหนดรายละเอียดของผู้จำหน่ายที่โรงพยาบาลได้มีการซื้อเวชภัณฑ์ หรือวัสดุต่าง ๆ ด้วย ซึ่งประกอบไปด้วย รหัสผู้จำหน่าย, ชื่อ, ที่อยู่, เลขที่บัญชี ฯลฯ เมนูที่ใช้คือ เมนูซื้อ –> 6. รายละเอียดผู้จำหน่าย

Image 
รูปภาพ 9  รายละเอียดผู้จำหน่ายที่ได้กำหนดไว้

     เลขที่บัญชี  คือเลขที่บัญชีที่ใช้ในการลงบัญชี เลขที่บัญชีดังกล่าวจะถูกดึงมาจากผังบัญชีที่ได้กำหนดไว้ 

5.    การกำหนดรายละเอียดลูกค้า
เป็น เมนูสำหรับกำหนดรายละเอียดของคนไข้ โดยจะแบ่งเป็นแต่ละกลุ่มของคนไข้ เช่น คนไข้นอก, คนไข้ใน, คนไข้มัดจำ เป็นต้น เมนูที่ใช้คือ เมนูขาย –> 6. รายละเอียดลูกค้า
  
Image

รูปภาพ 10  รายละเอียดลูกค้าที่ได้กำหนดไว้

 

การเดินรายการประจำวัน
1.    ใบสั่งซื้อ
เมนู นี้มีไว้สำหรับกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้า หรือวัสดุต่าง ๆ เพื่อใช้ในการอ้างอิง ตอนเปิดใบรับสินค้า หรือใบตรวจรับ ใบสั่งซื้อนี้จะมีด้วยกัน 2 ฟอร์ม ฟอร์มแรก (กด Alt-P) เป็นฟอร์มสำหรับส่งให้ผู้จำหน่าย เพื่อออกใบกำกับสินค้า และส่งของมาให้ตามที่โรงพยาบาลต้องการ ส่วนฟอร์มที่สอง (กด Alt-2) เป็นฟอร์มสำหรับส่งให้ผู้อำนวยการเพื่อเซ็นอนุมัติการสั่งซื้อวัสดุดังกล่าว เมนูที่ใช้คือ เมนูซื้อ –> 3. ใบสั่งซื้อ แล้วเลือกหัวข้อที่ต้องการ 

Image 
รูปภาพ 11  ตัวอย่างใบสั่งซื้อ
***ดูภาคผนวก หน้า 1-2***

2.    ซื้อเงินเชื่อ (ใบตรวจรับพัสดุ / ตรวจการจ้าง)
เมื่อ ผู้จำหน่ายส่งของมาตามที่ต้องการแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จะมีหน้าที่ออกเอกสารใบรับสินค้า หรือใบตรวจรับพัสดุ โดยจะมีการอ้างอิงเอกสารใบสั่งซื้อ ซึ่งได้ทำไว้แล้ว  

Image 
รูปภาพ 12 ตัวอย่างใบตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้าง
***ดูภาคผนวก หน้า 3***

3.    จ่ายสินค้าภายใน
เมื่อ มีแผนกใดแผนกหนึ่ง มาเบิกพัสดุเพื่อนำออกไปใช้ เช่น เวชภัณฑ์, วัสดุสำนักงาน เป็นต้น ทางฝ่ายคลังก็จะมีหน้าที่ทำใบเบิกจ่ายสินค้าภายใน เพื่อพิมพ์เป็นเอกสารให้กับผู้เบิกได้เซ็นรับของ เมนูที่ใช้คือ เมนูสินค้า –> 1. รายการประจำวันสินค้า –> 
จ่ายสินค้าภายใน แล้วเลือกหัวข้อที่ต้องการ

Image 
รูปภาพ 13 ตัวอย่างใบจ่ายวัสดุภายใน
***ดูภาคผนวก หน้า 4***

ในสมุดรายวันทั่วไป จะลงบัญชีโดย
  
Image
รูปภาพ 14

4.    จ่ายชำระหนี้
เมื่อ ถึงวันครบกำหนดจ่ายชำระหนี้ค่าพัสดุให้กับผู้จำหน่าย ฝ่ายการเงินก็จะมีหน้าที่ทำเช็ค เพื่อออกใบจ่ายชำระหนี้ ให้กับเจ้าหนี้ ซึ่งมีด้วยกัน 2 ฟอร์ม ฟอร์ม 1 จะเป็นฟอร์มขออนุมัติจ่าย เพื่อให้ผู้อำนวยการเซ็นอนุมัติการจ่ายดังกล่าว ส่วนฟอร์ม 2 เป็นฟอร์มใบจ่ายเงิน ที่ส่งให้ผู้จำหน่าย เมนูที่ใช้คือ เมนูการเงิน –> 2. จ่ายเงิน –> 4. จ่ายชำระหนี้ แล้วเลือกหัวข้อที่ต้องการว่าจะจ่ายจากเงินประเภทใด
  
Image
รูปภาพ 15
***ดูภาคผนวก หน้า 5-6***

5.    รับเงินมัดจำค่ารักษา
กรณี รับเงินมัดจำค่ารักษาจากคนไข้ หากคนไข้มาเข้ารับการรักษา ภายใน 90 วัน ค่ารักษาที่เกิดขึ้น จะหักจากเงินมัดจำที่ให้มา เมนูที่ใช้คือ เมนูขาย –> ข้อ 1 รับเงินมัดจำ
  
Image
รูปภาพ 16

เมื่อกรอกรายละเอียดในเมนูรับเงินมัดจำค่ารักษาเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมจะลงบัญชีในสมุดรายวันรับโดย
เดบิต    เงินสด        4,374.-
             เครดิต    เงินมัดจำค่ารักษา        4,374.-

6.    บันทึกรายได้ประจำวัน (เงินรับนอกงบประมาณอื่น ๆ)
เมื่อ ได้รับรายได้ค่ารักษาจากคนไข้นอก จะถือว่าเป็นเงินรับนอกงบประมาณอื่น ๆ ซึ่งจะรวบรวมว่าแต่ละวันได้รับรายได้ค่าอะไรมาบ้าง ก็จะลงข้อมูลในเมนูบันทึกรายได้อื่น ๆ โดยแยกเมนูเพิ่มเป็น “รายได้ประจำวัน”
  
Image
รูปภาพ 17

เมื่อกรอกรายละเอียดเรียบร้อย โปรแกรมจะลงบัญชีในสมุดรายวันขายโดย

Image 
รูปภาพ 18

7.    จ่ายคืนเงินมัดจำค่ารักษา
หาก คนไข้ไม่มาเข้ารับการรักษา ภายใน 90 วัน สามารถมาขอรับเงินมัดจำคืนไปได้ โดยทางโรงพยาบาลจะต้องทำการจ่ายคืนเงินมัดจำค่ารักษา เมนูที่ใช้คือ เมนูขาย –> ข้อ 2 ขายเงินสด -> จ่ายคืนเงินมัดจำค่ารักษา
  
Image
รูปภาพ 19

เมื่อกรอกรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมจะลงบัญชีในสมุดรายวันจ่ายโดย
  
Image
รูปภาพ 20

8.    ขายเงินเชื่อ (คนไข้หน่วยงานอื่น)
กรณี ที่มีหน่วยงานอื่น ส่งคนไข้ในสังกัดมารักษาที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะเปิดบิลขายเชื่อเพื่อเรียกเก็บเงินจากหน่วยงานนั้น ๆ จะไม่ได้เรียกเก็บจากคนไข้โดยตรง การสั่งพิมพ์ฟอร์ม 1 จะเป็นฟอร์ม “ใบแสดงรายการค่ารักษาพยาบาล (กรณีส่วนราชการเป็นผู้เบิกเงินให้)” เพื่อส่งให้หน่วยงานนั้น ๆ ส่วนฟอร์ม 2 จะเป็นฟอร์ม “ใบเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล” 
***ดูภาคผนวก หน้า 7-8***

Image 
รูปภาพ 21
  
Image
รูปภาพ 22

เมื่อกรอกรายละเอียดเรียบร้อย โปรแกรมจะลงบัญชีในสมุดรายวันคนไข้นอก/คนไข้ในโดย
  
Image
รูปภาพ 23

9.    รับชำระหนี้-จากหน่วยงานอื่น
เมื่อ ถึงวันครบกำหนด หน่วยงานต่าง ๆ ก็จะส่งเงินมาให้โรงพยาบาลเพื่อเป็นการชำระหนี้ ทางโรงพยาบาลก็จะออกใบเสร็จรับเงินให้กับหน่วยงานนั้น ๆ  
  
Image
รูปภาพ 24

เมื่อกรอกรายละเอียดเรียบร้อย โปรแกรมจะลงบัญชีในสมุดรายวันรับโดย
  
Image
รูปภาพ 25
***ดูภาคผนวก หน้า 9***

 

รายการทรัพย์สิน (ครุภัณฑ์)
1.    กำหนดประเภท/หมวดของครุภัณฑ์
เนื่อง จากรหัสครุภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม จำนวนหลักมีมากกว่าที่โปรแกรมรับได้ (โปรแกรมรับได้เพียง 15 หลัก) จึงได้มีการประยุกต์โปรแกรมโดยตัด 4 หลักแรกของรหัสครุภัณฑ์ มาใช้เป็นหมวด/ประเภทของครุภัณฑ์แทน เมนูที่ใช้คือ เมนูเริ่มระบบ –> 2. กำหนดตารางข้อมูล –> 52. หมวดทรัพย์สิน
  
Image
รูปภาพ 26

2.    กำหนดรหัสครุภัณฑ์
  
Image
รูปภาพ 27

     หากคุณมีรายละเอียดของครุภัณฑ์มากกว่าที่หน้าจอแสดงไว้ให้กรอก คุณสามารถกด Alt-R เพื่อใส่รายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ 10 บรรทัด เช่น ซื้อจากใคร, วิธีการได้มา, ยี่ห้อ เป็นต้น
     เมื่อคุณกรอกรายละเอียดของครุภัณฑ์แต่ละตัวเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมจะคิดค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ให้โดยอัตโนมัติ และลงบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปโดย เดบิต ค่าเสื่อมราคา-ครุภัณฑ์ เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม-ครุภัณฑ์


ตัวแทนจำหน่ายระบบบัญชีเอ็กซ์เพรส |
ระบบบัญชี Expess | โปรแกรมบัญชี Express | โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป | โปรแกรม Express Online | ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express | ฟอร์มใบกำกับภาษีสำเร็จรูป

CopyRight 2012© www.cdginnovation.com
Contact Us : online@cdginnovation.com
Tel. 08-3444-7676, 08-7980-6789

สั่งซื้อโปรแกรมโทร 0834447676